หลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ
เทคนิคการตั้งเป้าหมาย KPI ที่สอดคล้องสนับสนุนทีมงานและองค์กร สำหรับหัวหน้างาน
( Performance Alignment for Supervisor )
หลักการและเหตุผล
การมีเป้าหมายที่ชัดเจนถือเป็นหัวใจสำคัญของทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นองค์กร หน่วยงานหรือผู้ปฏิบัติงาน เพราะหากองค์กรของเราไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจน การดำเนินการต่างๆ ก็จะไร้ทิศทาง สับสน จนอาจเกิดความขัดแย้ง และเกิดความสูญเปล่าในการใช้ทรัพยากรต่างๆ ที่มีอยู่อย่างจำกัด
การกำหนดเป้าหมายในการดำเนินงานขององค์กรและเป้าหมายในการปฏิบัติงานของบุคลากรจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อการอยู่รอด ทั้งนี้การกำหนดเป้าหมายดังกล่าว ควรมีขั้นตอนในการบริหารจัดการที่เป็นระบบ มีความสัมพันธ์ในรูปแบบกระบวนการ PDCA เพื่อให้เป้าหมายที่กำหนดขึ้นได้รับการติดตาม ตรวจสอบ แก้ไข พัฒนาและให้รางวัลตอบแทนที่เหมาะสมแก่ผู้ที่ปฏิบัติงานได้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด ทั้งนี้รูปแบบการบริหารจัดการเป้าหมายในเชิงระบบดังกล่าวเรียกว่าระบบการจัดการผลการปฏิบัติงาน หรือ Performance Management System (PMS)
ระบบ PMS เป็นกรอบในการบริหารจัดการเป้าหมายที่องค์กรกำหนดขึ้น ซึ่งอาจกำหนดเป้าหมายแบบ KPI หรือ OKRs ตามความเหมาะสมของกระบวนการธุรกิจในแต่ละองค์กร ดังนั้นการศึกษาทำความเข้าใจถึงแก่นสาระสำคัญในเรื่อง PMS จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะผลกระทบจากการใช้ระบบดังกล่าวจะส่งผลต่อขวัญ กำลังใจของบุคลากร และประสิทธิภาพโดยรวมขององค์กร
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจแนวคิดที่สำคัญและประโยชน์ของตัวชี้วัดผลสำเร็จในการทำงาน
2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถวิเคราะห์ตัวชี้วัดผลงานที่เหมาะสมกับเป้าหมายที่เกี่ยวข้องได้
3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถติดตามความก้าวหน้าของเป้าหมายได้อย่างเป็นระบบ
วิธีการ
1. บรรยายเพื่อให้เข้าใจแนวคิดสำคัญและเห็นตัวอย่างประกอบเพื่อให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น
2. ฝึกปฏิบัติ (Work shop) โดยใช้ข้อมูลจริง และรับการ Feedback เพิ่มเติมจากวิทยากร เพื่อให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น
วิทยากร : ดร.ปิยะวัฒน์ จารุธนรัตน์กุล
กลุ่มเป้าหมาย : Supervisor – Manager
# สิ่งที่จะได้เรียนรู้เมื่อผ่านการฝึกอบรมแล้ว
- เข้าใจว่าผลงานคืออะไร เราจะวัด "ผลงาน" ได้จากอะไร - เข้าใจว่าเราจะเชื่อมโยงเป้าหมายองค์กรกับ เป้าหมายระดับบุคคลได้อย่างไร - เข้าใจว่าทำไมเมื่อมีเป้าหมายแล้ว จึงเกิดความขัดแย้งภายในองค์กร - เข้าใจว่าทำไมเมื่อกำหนดเป้าหมาย KPI แล้ว งานมากขึ้น เป็นภาระมากขึ้น - เข้าใจว่าทำไมทุกคนได้คะแนน KPI สูงมาก แต่บริษัทมีผลประกอบการไม่ดี – เข้าใจว่า KPI ของแต่ละตำแหน่ง ยาก-ง่าย ต่างกัน ยุติธรรมหรือไม่ - เข้าใจว่าเป้าหมายของแต่ละ KPI คิดจากอะไร จะคำนวณคะแนนอย่างไรให้เหมาะสมกับ KPIแต่ละตัว - เข้าใจว่า จะกำหนดสัดส่วน KPI กับพฤติกรรม อย่างไร - เข้าใจว่า การเก็บข้อมูล KPI ควรกำหนดความถี่อย่างไร ใครควรเป็นผู้เก็บข้อมูล - เข้าใจว่า ถ้าพนักงานไม่ให้ความร่วมมือทำ KPI จะทำอย่างไร |
เวลา |
หัวข้อ |
0900 – 1030 |
- การกำหนดเป้าหมายในฐานะส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคล - ประโยชน์ของการมีตัวชี้วัดและเป้าหมายในการปฏิบัติผลงาน - การบริหารเป้าหมายในการทำงานแบบ PDCA ในระบบการจัดการผลการปฏิบัติงาน (Performance Management System - PMS) - แนวคิดการกำหนดเป้าหมายองค์กรด้วย BSC & Customer Focus - Strategic Mapping แสดงการเชื่อมโยงเป้าหมายประจำปีของบริษัท กับฝ่ายต่างๆ |
1030 – 1045 |
Coffee Break |
1045 – 1200 |
# Workshop การจัดทำกลยุทธ์และเป้าหมายระดับทีมงาน (Supervisor) เพื่อเพื่อตอบโจทย์เป้าหมายของฝ่าย และบริษัท # นำเสนอ รับฟังความเห็นจากวิทยากร |
1200 – 1300 |
พักกลางวัน |
1300 – 1430 |
แนวคิดการวิเคราะห์เป้าหมายการปฏิบัติงาน ระดับตำแหน่งงานด้วย Value Chain และ Customer Focus - แนวคิดการกำหนดค่าเป้าหมาย น้ำหนัก คะแนน สูตรการคำนวณคะแนน KPI - ตัวอย่างการวิเคราะห์ตัวชี้วัดผลงาน (Key Performance indicator) ของแต่ละตำแหน่งงาน ที่สอดคล้องกับเป้าหมายของหน่วยงาน * Workshop : การวิเคราะห์ตัวชี้วัดผลงาน (Key Performance indicator) ของแต่ละตำแหน่งงานภายในฝ่าย และที่สนับสนุนหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง การกำหนดค่าเป้าหมาย น้ำหนัก คะแนน สูตรการคำนวณ |
1430 – 1445 |
Coffee Break |
1445 – 1630 |
- Present & Get Feedback : แต่ละฝ่าย นำเสนอตัวชี้วัดผลงาน (KPI) ของแต่ละตำแหน่งงาน การกำหนดค่าเป้าหมาย น้ำหนัก คะแนน สูตรการคำนวณ - สรุปผลการเรียนรู้ |