SHRM-03 : Employee Engagement: ยกระดับการมีส่วนร่วมของพนักงาน : สร้างแรงบันดาลใจและขับเคลื่อนผลลัพธ์องค์กร

SHRM-03 : Employee Engagement: ยกระดับการมีส่วนร่วมของพนักงาน : สร้างแรงบันดาลใจและขับเคลื่อนผลลัพธ์องค์กร

หลักสูตรฝึกอบรม
Employee Engagement : Elevating Employee Experience At Work
  ยกระดับประสบการณ์พนักงานเพื่อองค์กรที่แข็งแกร่ง

 

ภาพรวมหลักสูตร:

ในยุคปัจจุบัน องค์กรที่ประสบความสำเร็จไม่ได้เน้นเพียงแค่ผลลัพธ์ทางธุรกิจ แต่ยังให้ความสำคัญกับประสบการณ์ของพนักงานในทุกมิติ หลักสูตร Human Experience ถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการนี้ โดยเน้นการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างความต้องการของพนักงานและเป้าหมายองค์กร ด้วยแนวคิดที่มุ่งเน้น "ความเป็นมนุษย์" เป็นศูนย์กลาง หลักสูตรนี้ช่วยให้ผู้จัดการและผู้เชี่ยวชาญด้าน HR สามารถพัฒนากลยุทธ์ที่มุ่งเน้นไปที่ความสุข ความผูกพัน และการมีส่วนร่วมของพนักงาน เพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่งและยั่งยืน

คุณจะได้เรียนรู้วิธีการวิเคราะห์ประสบการณ์ของพนักงาน ตั้งแต่การวางนโยบาย การสนับสนุนสมดุลชีวิต และการพัฒนาความสัมพันธ์ในทีม จนถึงการสร้างแผนกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับเป้าหมายธุรกิจและสามารถนำไปปฏิบัติได้ทันที หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับองค์กรที่ต้องการเปลี่ยนแปลงวิธีการบริหารพนักงาน เพื่อเพิ่มความผูกพันและประสิทธิภาพในการทำงานของทีมอย่างแท้จริง

 

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร:

  1. พัฒนาแนวคิดการบริหารจัดการ “ประสบการณ์พนักงาน” (Employee Experience)
  2. สร้างสมดุลชีวิต-การทำงาน เสริมสร้างความผูกพัน และความพึงพอใจในงาน
  3. ปรับเปลี่ยนองค์กรให้เป็นสถานที่ทำงานที่น่าทำงาน พร้อมรองรับความเปลี่ยนแปลง

 

จุดเด่นของหลักสูตร:

  • เรียนรู้ผ่านกรณีศึกษาเพื่อการเรียนรู้ที่ลึกซึ้ง
  • แนวทางการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่มุ่งเน้นการเติบโตของพนักงาน
  • การพัฒนาทักษะการสื่อสารและความเข้าใจในมิติของประสบการณ์พนักงาน

 

หัวข้ออบรมและประโยชน์ที่ผู้เรียนจะได้รับ

1. การเริ่มต้นวิเคราะห์ Human Experience

  • แนวคิดพื้นฐานและความสำคัญของ Human Experience

เรียนรู้ว่าประสบการณ์ของพนักงานในแต่ละจุดสัมผัส (Touchpoint) ตั้งแต่สมัครงาน วันแรกทำงาน ไปจนถึงวันลาออก ล้วนส่งผลต่อทัศนคติและผลงานของเขาอย่างไร

  • การระบุปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจและประสิทธิภาพของพนักงาน

เช่น ความสัมพันธ์กับหัวหน้า ความก้าวหน้าในอาชีพ ความมั่นคงในงาน และวัฒนธรรมองค์กร

  • เครื่องมือในการวิเคราะห์และติดตามความก้าวหน้าของประสบการณ์พนักงาน

เช่น Employee Journey Mapping, EX Survey, eNPS (Employee Net Promoter Score)

* ผลลัพธ์: ผู้เรียนสามารถมองภาพรวมของประสบการณ์พนักงานได้ทั้งระบบ พร้อมรู้วิธีวัดผลและนำข้อมูลไปพัฒนาต่อ

 

2. การพัฒนาสมดุลการทำงานและชีวิตส่วนตัว (Work/Life Balance)

  • กลยุทธ์เพื่อสนับสนุนความสมดุลในชีวิตการทำงาน

เช่น นโยบายวันทำงานยืดหยุ่น การให้สิทธิ WFH การจัดโปรแกรมสุขภาพจิตและสุขภาวะ (Well-being)

  • การออกแบบนโยบายที่ส่งเสริมความยืดหยุ่นในการทำงาน

ฝึกวางนโยบายให้สอดคล้องกับลักษณะขององค์กร เช่น Hybrid Work Policy, Leave Sharing Program

  • ตัวอย่างกรณีศึกษาในการสร้าง Work/Life Balance ที่ประสบความสำเร็จ

เช่น บริษัทที่สามารถลด Turnover ได้ 30% ภายใน 6 เดือน หลังเปลี่ยนนโยบายเรื่องชั่วโมงการทำงาน

*ผลลัพธ์: ผู้เรียนสามารถออกแบบแนวทางส่งเสริมสมดุลชีวิตและงานได้อย่างสร้างสรรค์ และเหมาะสมกับบริบทองค์กร

 

3. การเสริมสร้างความผูกพันของพนักงาน (Employee Engagement)

  • การใช้แบบสำรวจและเครื่องมือวิเคราะห์เพื่อเข้าใจความต้องการของพนักงาน

เช่น การใช้ Engagement Survey, Stay Interviews หรือ Focus Group เพื่อระบุจุดที่ทำให้พนักงานรู้สึกเชื่อมโยงกับองค์กร

  • การพัฒนากิจกรรมที่ช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ในทีม

เช่น กิจกรรม Cross-Team Collaboration, Team Building เชิงสร้างสรรค์ หรือ Mentoring Program

  • เทคนิคการสร้างโปรแกรมที่ยั่งยืนเพื่อเพิ่มความผูกพันในองค์กร

เช่น Employee Recognition Program, Gamification ในงานประจำวัน หรือ Career Path ที่ชัดเจน

*ผลลัพธ์: ผู้เรียนสามารถออกแบบกิจกรรมและโปรแกรมที่ช่วยเพิ่ม Engagement ได้อย่างยั่งยืนและวัดผลได้

 

4. การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ยั่งยืน

  • การเชื่อมโยงวิสัยทัศน์องค์กรกับการดำเนินงานที่มีจุดมุ่งหมาย (Purpose-Driven Culture)

เรียนรู้การทำให้พนักงานรู้สึกว่า "งานของเขามีคุณค่า" และเป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายใหญ่ขององค์กร

  • แนวทางการสร้างความไว้วางใจและความร่วมมือในทีมงาน

ใช้เครื่องมือ เช่น Team Charter, One-on-One Feedback และ Psychological Safety

  • การออกแบบพื้นที่ทำงานที่สนับสนุนการพัฒนาและการมีส่วนร่วม

เช่น Flexible Office Design, Learning Zone, หรือ Social Spaces ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกัน

*ผลลัพธ์: ผู้เรียนสามารถออกแบบวัฒนธรรมองค์กรให้เป็นมิตรกับพนักงาน พร้อมส่งเสริมการมีส่วนร่วมทุกระดับ

5. การพัฒนากลยุทธ์ Human Experience

  • การวางแผนเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาประสบการณ์พนักงาน

ฝึกวางกลยุทธ์ HR ที่เชื่อมโยงกับ Employee Lifecycle และวางโครงสร้างโครงการ EX อย่างเป็นระบบ

  • การประเมินผลกระทบจากการปรับปรุงประสบการณ์พนักงาน

เรียนรู้การใช้ตัวชี้วัด เช่น Turnover Rate, Engagement Score, Productivity Index

  • การสร้างแผนปฏิบัติการ 30, 60, และ 90 วัน เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน

แบ่งเป้าหมายออกเป็นช่วงเวลา พร้อมติดตามผลและปรับแผนได้อย่างคล่องตัว

* ผลลัพธ์: ผู้เรียนสามารถขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงประสบการณ์พนักงานได้จริง พร้อมติดตามความสำเร็จอย่างเป็นระบบ

 

เมื่อจบหลักสูตรนี้ ผู้เรียนจะสามารถ

  • เข้าใจภาพรวมของ Employee Experience และแนวทางการยกระดับประสบการณ์พนักงาน
  • ออกแบบนโยบายและกิจกรรมที่ส่งเสริมความผูกพันและความพึงพอใจ
  • วางแผนกลยุทธ์การพัฒนาองค์กรที่เน้น “พนักงานเป็นศูนย์กลาง” ได้อย่างยั่งยืน

 

ระยะเวลา:  2 วัน | วันละ 8 ชั่วโมง    สถานที่: โรงแรมรามาการ์เด้น  หลักสี่ กรุงเทพมหานคร 

ค่าลงทะเบียน:  15,900  บาท  (ไม่รวม VAT)   
สิ่งที่รวมในหลักสูตร: เอกสารประกอบการเรียน อาหารกลางวัน และใบรับรองการจบหลักสูตรจาก
SHRM


Lead Facilitator : ดร.ฐิติวรรณ สินธุ์นอก .,Ph.D.

          เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาองค์กร ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บ.ฐิติลักษณ์ จำกัด และเป็นที่ปรึกษาและโค้ชมืออาชีพที่ได้รับการรับรองระดับ Professional Certified Coach (PCC) รวมถึงเป็น Certified Action Learning Coach (CALC)  สำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) จาก ม. เกษตรศาสตร์  ป.โท รัฐประศาสนศาสตร  จากสถาบันบัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร์ และ ป.เอก สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยมีความเชี่ยวชาญในด้านการพัฒนาสมรรถนะตามหลัก Competency ระบบการสรรหาและคัดเลือกบุคลากร การฝึกอบรมตามสมรรถนะ การพัฒนาเส้นทางอาชีพ ระบบพี่เลี้ยง (Mentoring) การโค้ชผู้บริหาร และการโค้ชเพื่อผลการปฏิบัติงาน   มีบทบาทเป็นวิทยากรและที่ปรึกษาให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนหลายแห่ง มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและองค์กรให้เติบโตอย่างยั่งยืน

Assistance Facilitator : ดร.ปิยะวัฒน์ จารุธนรัตน์กุล,Ph.D.,SHRM-SCP  
            สำเร็จการศึกษา ป.ตรี จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ป.โทจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ป.เอก สาขาบริหารการศึกษา เน้นวิจัยด้านการจัดการผลการปฏิบัติงาน
(KPI & PMS)  จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการทรัพยากรบุคคล (HR) ด้วยประสบการณ์กว่า 25  ปีในอุตสาหกรรมการผลิต โทรคมนาคมและสื่อสารมวลชน ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทย เอชอาร์เอ็ม บิสิเนส จำกัด  นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ SHRM Education Partner ประจำประเทศไทย  ผ่านการรับรอง SHRM Advance Diploma in HRM และ Certified SHRM-SCP

 

สนใจสมัคร ติดต่อ คุณจารุวรรณ : Tel : 094 – 5454 -987   Email : Jaruwan@thaihrm.com